Platform Switching การค้นพบโดยบังเอิญ ที่เปลี่ยนแปลงการออกแบบ implant abutment ไปตลอดกาล
หากพูดถึงการค้นพบโดยบังเอิญในแวดวงการแพทย์ เช่น อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง ที่ค้นพบ เชื้อราเพนนิซิเลียม (Penicillium) ที่มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย จนสังเคราะห์เป็นยาเพนนิซิลิน (Penicillin) ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในยาปฏิชีวะ
โดยในตอนนั้นเขาได้เพาะเชื้อแบคทีเรียลงบนจานทดลอง และปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ในอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส แต่แล้ววันหนึ่งผู้ช่วยของเขาได้ลืมปิดฝาจานทดลอง ทำให้พบว่ามีเชื้อราสีเขียวชนิดหนึ่งขึ้นที่จานเต็มไปหมด บริเวณรอบ ๆ เชื้อรานี้กลายเป็นวงใส ๆ และแบคทีเรียสเตปฟิโลคอกคัสถูกฆ่าเป็นวงกว้าง ซึ่งต่อมาพบว่าราเหล่านี้ก็คือ ราเพนนิซิลเลียม (Pennicillium family) นั่นเอง
กลับมาในด้านทันตกรรมรากเทียม การค้นพบโดยบังเอิญที่กำลังจะกล่าวถึง เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1991 โดยในขณะนั้นระบบ 3i Implant Innovations (BIOMET 3i Inc., FL) ปกติการทำรากเทียมมักใช้รากเทียมที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง (wide-diameter implants) และมีขนาดของ restorative platforms ใหญ่กว่า standard implants ทั่วๆไป ซึ่งทำให้บางครั้งการใช้รากเทียมที่ใหญ่ แล้วเราไม่สามารถใช้ prosthetic abutments ที่ขนาดสอดคล้องกับความกว้างของรากเทียมได้ ทำให้จำเป็นต้องเลือกใช้ standard prosthetic abutments (4.1 mm diameter) บนรากเทียมที่มีขนาดใหญ่ (5 – 6 mm diameter) ซึ่งการเกิดขึ้นโดยบังเอิญนี้ในช่วงแรกมีชื่อเรียกว่า “change of platform” ค่อยเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “platform switching (PLS)” ในภายหลังนั้นเอง
Biomet 3i tapered dental implants ในซี่ 46 เรียกว่า platform match คือมีขนาดพอดีกับขนาดของ fixture
ส่วนในซี่ 45 นั้น คือ platform switching (รากเทียมทั้งคู่มีขนาด 5 มม เท่ากัน แต่ในตำแหน่งใช้ healing ขนาด 4.1 มม)
จากการค้นพบโดยบังเอิญ ทำให้เกิดผลที่น่าแปลกใจ นั้นก็คือ ภายหลังจากการติดตามผลการรักษาด้วภาพเอกเรย์ พบว่า ในกลุ่มที่ใช้ platform switching พบการละลายตัวของกระดูกรอบๆ รากเทียมในแนวดิ่ง น้อยกว่าปกติ
ซึ่งโดยปกติแล้ว การละลายตัวของกระดูกรอบๆ รากเทียมมักจะมีค่า 1.5-2 มม เสมอ รอบๆ implant-abutment junction (IAJ) ในช่วงเวลา 1 ปีแรก (Albrektsson T 1986)
จนในกระทั้ง ในปี 2006 Lazzara ,Porter และ Gardner ได้ทำการศึกษาเรื่องความแตกต่างของขนาด implant platform และ abutment platform จนนำเสนอคอนเซป Platform switching ขึ้น โดยได้อธิบายความแตกต่างของขนาดระหว่าง implant platform และ abutment platform ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนตำแหน่งของ implant abutment junction (IAJ) ในแนว horizontal โดย IAJ จะอยู่ห่างจากขอบของรากเทียมมากขึ้น และห่างจากกระดูกมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งทำให้เกิด มุม หรือ ขั้น ที่เป็นส่วนที่แบ่งแยก รอยต่อระหว่าง implant และ abutment อย่างชัดเจน ทำให้ inflamed connective tissue ไม่สามารถ extend ลงมาได้ลึกเหมือนเช่นกับ traditional matched IAJ ทั่วๆไป
อะไรที่ซ่อนอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงนี้ ?
- Increased biomechanical support
Cappiello ในปี 2008 พบว่าการละลายตัวที่ลดลงของกระดูกรอบๆ รากเทียม ทำให้รากเทียมนั้นมี biomechanic ที่ดีกว่าในกรณีที่มีการละลายตัวของกระดูกมาก
- Effect on soft tissue esthetics around dental implants
Platform switching ทำให้ลดการเกิด physiologic resorption ของกระดูกรอบๆ รากเทียม จึงทำให้ papilla ยังคงสภาพตำแหน่งเดิม จึงทำให้เหงือกรอบๆรากเทียมยังมีความสวยงามเช่นเดิม
นอกจากนี้ Berglundh และ Lindhe ในปี 1996 ได้แนะนำว่า ควรมี soft tissue หนาอย่างน้อย 3 มม. อยู่รอบๆ รากเทียม เพื่อทำให้เกิด mucosal barrier รอบๆ รากเทียม กลายเป็น โครสร้างของ biologic seal เพื่อป้องกันการเกิดการละลายตัวของกระดูกรอบๆ รากเทียม
- Effect on crestal bone stress levels in implants with microthreads
จากการศึกษา ของ Schrotenboe ในปี 2008 ด้วย finite element analysis พบว่า platform switching สามารถลดการสะสมของ stress รอบๆได้ ทั้ง microthread และโมเดล smooth-neck
เมื่อลดขนาด ของ abutment ( 5 > 4.5 > 4) จะพบว่า การสะสมของ stress ที่มีค่าสูง (สีแดง เหลือง) มีพื้นที่ลดลง