106 ครั้ง
The Lens
ทำไมต้อง Macro Lens ? ทำไมต้องซื้อแพง เลนส์อะไรก็ถ่าย close up ฟันได้ ? เคยอ่านเจอ คอมเม้นแนวๆนี้เยอะมากวันนี้เรามาไขข้อสงสัยกันให้กระจ่างกันเถอะ อาจมีเรื่องทฤษฎีเล็กน้อยนะครับจริงๆแล้ว เลนส์ทุกความยาวตั้งแต่ 50 mm- 200 mm ออกแบบมาให้ถ่าย close up ได้ (หมายถึงการที่จะถ่ายวัตถุที่อยู่ใกล้หน้าเลนส์ ) แต่ Macro lens จะถ่ายใกล้มากๆได้ โดยภาพที่ได้จากเลนส์พวกนี้ควรมีลักษณะ 1. มีสีที่ชัดเจน (clear color rendition) 2. มีความละเอียดของภาพที่ดี (good resolution) 3. มีการบิดเบี้ยวมิติของรูปน้อย (lack of distortion) 4. ได้ภาพที่มีความคมชัดและระนาบของภาพที่ดี (good field flattening) จริงๆ จะมีเลนส์เว้าตัวสุดท้ายก่อนที่แสงจะเข้า sensor ซึ่งคุณภาพของปัจจัยนี้จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของเลนส์เว้า แต่ใน Macro ก็มีเลนส์เว้าตัวนี้ดีเท่าๆ กันหมด พอที่จะใช้ถ่ายในช่องปากแล้ว

อย่างไรก็ตามเลนส์ปกติที่เป็นกลุ่ม Tele lens (50 mm- 200 mm) ที่มี macro setting ติดมาด้วย มีข้อจำกัดที่สำคัญ ที่ทำให้ไม่สามารถใช้ถ่ายในช่องปากได้คือ magnification ratio น้อยสุด มีค่า 1:4 หากเลนส์ Tele ปกติจะมีค่า ประมาณ 1:10 ถึง 1:7 แปลว่าอย่างไร ?
Reproduction ratio หรือ magnification ratio
เป็นอัตราส่วนที่แสดงคุณสมบัติของเลนส์ ว่าสามารถหักเหแสง ที่มาจากวัตถุเข้ากล้อง แล้วอัตราส่วนระหว่างขนาดของภาพ (image size)กับ ขนาดวัถตุจริง (object size) ที่เกิดเป็นเป็นอัตราส่วนกันเท่าใดเช่น หากมีค่าอัตราส่วน 1:2 จะแปลว่า หากวัถตุมีขนาด (object size) 2 ในภาพจะมีขนาด (image size) 1 (ดังภาพที่แนบมาด้านขวา)

ซึ่งในทางทันกรรม เราไม่ต้องการภาพที่ขยายใหญ่ขึ้น เราต้องการถ่ายภาพที่มีขนาดใกล้เคียงกับของจริง ซึ่ง Macro lens จะสามารถทำให้เกิดภาพ 1:1 ได้ หรืออย่างน้อยการถ่ายภาพในช่องปากจะใช้อัตราส่วนประมาณดังต่อไปนี้1:10 portrait photography
1:2 image of U/L arch
1:1.2 whole set of anterior teeth
1:1 anterior teeth with partial canines or pre molars and molars (สำคัญมาก ในงานพวก DSD (Digital Smile Design) เพราะหากได้ขนาดฟันที่มีการ distortion ไป เวลาทำ ratioฟันจะผิดพลาดได้ )
2:1 Two maxillary anterior teeth


นอกจากนี้ magnification ratio ยังส่งผลโดยตรงต่อ working distance ของเลนส์ !!!หาก ค่า magnification ratio 1:1 ระยะห่างระหว่าง คนไข้กับหน้าเลนส์ จะมีค่าเท่ากับ 2 เท่าของ Focal length ของเลนส์ ขอขอบคุณพี่หมอกร ที่แนะนำตรงนี้ครับ
ซึ่งที่กล่าวมาจะใช้ได้กับกรณีเลนส์ ธรรมดา ที่ไม่ใช่ Macro ครับ ยกตัวอย่างตามภาพที่แนบมา ครับ

ดังนั้นหากใช้ เลนส์ Tele ที่มี Macro setting 1:4 เช่น ตัวอย่างผมเอาเลนส์ 24-70 mm L มาใช้ถ่ายภาพ ระยะที่ใกล้คนไข้ที่สุดแล้วจะถ่ายภาพได้คือ 4×70 = 240 mm และจะไม่สามารถถ่าย Close up ใกล้กว่านี้ได้เท่า Macro lens และยังทำให้ต้องใช้กำลังแฟลชมากขึ้นด้วย เพราะเราอยู่ห่างจากช่องปากมากกว่าปกติ ในกรณีเลนส์อื่นๆนะครับ


ส่วน Macro เลนส์ นั้น ค่า Working Distance จะถูกกำหนดมาในตัวเลนส์อยู่แล้ว เช่น เลนส์ 60 mm จะมีระยะใกล้สุด ( Close Focus ) 20 cm ส่วน 100 mm จะมีระยะใกล้สุด 30 cm สั่งเกตุได้ง่ายๆ ที่ตรงข้างเลนส์ จะมีปรับ ระยะ Working Distance ครับ เช่น 0.3-0.5 m , 0.5 – infinity

ดังนั้นหากนำเอาเลนส์ 100 mm มาใช้กับกล้อง APS-C ระยะ Close Focus ก็จะเพิ่มเป็น 30*1.6 คือ ประมาณ 48 cm ตามภาพล่างครับ ที่ทำให้ต้องเพิ่มระยะห่างระหว่างกล้องกับคนไข้ครับ

จริงๆเราสามารถเปลี่ยน Tele lens ให้เป็น Macro Lens ได้ด้วยพวกอุปกรณ์ extension rings,bellows unit, macro tubes แต่จะไม่ขอลงรายละเอียดตรงนี้ นะครับ

ดังนั้น สรุปง่ายๆได้ว่า สิ่งที่ทำให้ Macro Lens นั้นจำเป็นในการถ่ายภาพในช่องปากได้ คือ สามารถถ่ายฟันใกล้ๆได้ และได้ภาพที่มีคุณภาพ สัดส่วนเหมาะสมไม่distortion โดยที่มีระยะห่างจากคนไข้ที่เหมาะสม


ความยาวของ Lens 60 mm 100 mm ต่างกันตรงไหน ? ควรเลือกอันไหนดี ?
ความแตกต่างที่ชัดเจนอันแรกคือ น้ำหนัก ตัว 60 mm จะค่อนข้างเบา (335 g) ส่วนเลนส์ 100 mm จะค่อนข้างหนัก (600-620 g) นอกจากนี้ยังมีปัจจัย working distance ที่ได้กล่าวข้างต้น หากใช้เลนส์ 60 mm จะต้องถ่ายใกล้คนไข้มาก ดังภาพ ที่แนบมา ซึ่ง เป็นการใช้เลนส์ 60 คู่กับ Full Frame อันนี้จะทำให้เราต้องก้มเข้าใกล้คนไข้มาก การควบคุมแสงแฟลช ก็จะทำได้ลำบากมากขึ้น


แต่จริงๆแล้ว ปัจจัยที่สำคัญมากคือ Distortion ที่เกิดขึ้น โดยภาพที่ถ่ายด้วย เลนส์ 60 mm จะเกิด Distortion เล็กน้อย บริเวณกึ่งกลางภาพ ทำให้ฟัน ซี่ 12-22 มีขนาดใหญ่กว่าปกติ ตามภาพที่ได้แนบมาครับ


ดังนั้นหากคุณหมอที่ถ่ายภาพเก็บเคส ไม่ได้เน้นรายละเอียดมากๆ เช่นคุณหมอ perio หรือ Ortho การเลือกใช้เลนส์ 60 mm รวมกับกล้อง APS-C ก็เป็นทางออกที่ดีทั้ง ระยะการถ่ายภาพที่เหมาะสม และราคาไม่สูงมากครับ ส่วนในงานศัลย์นั้น อาจไม่แนะนำเลนส์ 60 mm เพราะเสี่ยงกับการ contaminated ระหว่างถ่ายภาพ โดยเฉพาะใน OR อาจต้องพิจารณาเลนส์ 100 mm มากกว่าครับนอกจากนี้อยากให้พิจารณาเรื่องน้ำหนักของกล้องและเลนส์ที่รวมกันแล้วคอนข้างหนัก ยังไม่รวมถึงเรื่อง แฟลช ใน part ต่อไปนะครับ และควรคำนึงถึงเรื่อง working distance ของคุณหมอด้วยครับ หากเป็นคนตัวเล็กการใช้ 100 mm อาจลำบากสักนิด โดยเฉพาะหากใช้คู่กับกล้อง APS-C ซึ่งผมไม่ค่อยแนะนำให้จับคู่ 100 mm กับ APS-C เท่าไหร่เลยครับ#ไปด้วยกันไปได้ไกล
#ProudtoBeProsthKKU
หากใครมีอะไรเสริมสามารถคอมเม้น หรือ inbox แนะนำมาได้เลยครับ
อันนี้ภาพประกอบคอนข้างเยอะ เลยลองเปลี่ยนเขียน เป็น Note ภาพกับเนื้อหาจะได้ไปด้วยกันครับ หากต้องการเสนอแนะตรงไหน หรือเป็น Note แล้วไม่ดีบอกได้เลยครับ เพราะพึงเคยทำเหมือนกัน
บทต่อไปจะยากหน่อยครับเรื่อง Flash
